สถาบันวิจัยและพัฒนา อาคารศศิพงษ์ประไพ (อาคาร 41)
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ที่ตั้ง : อาคารศศิพงษ์ประไพ (อาคาร41) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถ.อู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
รายละเอียดศูนย์การเรียนรู้
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่พัฒนามาจากศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการ ในวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2530 ศูนย์วิจัยและบริการศึกษามีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและบริการการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ร่วมมือประสานงานวิจัยและบริการการศึกษาทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย เผยแพร่และส่งเสริมการวิจัย จัดฝึกอบรมบุคลากรในสาขา วิชาการต่างๆ โดยประสานงานและให้บริการ การดำเนินงานของศูนย์วิจัยในระยะ เริ่มแรกจะมุ่งเน้นไปที่การบริการการศึกษา ด้วยรูปแบบของการจัดฝึกอบรมเป็นส่วนใหญ่และอาจารย์จะมีการทำวิจัย น้อยมาก ต่อมาเมื่อวิทยาลัยครูขยายการสอนถึงระดับปริญญาตรีและได้กำหนดเป็นภารกิจ ด้านการวิจัยไว้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2527 รวมทั้งมีการกำหนดนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยขึ้น การดำเนินงานวิจัยจึงได้พัฒนาขึ้นตามลำดับจนกระทั่งสถาปนาเป็นสถาบันราชภัฏตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และได้กำหนดสำนักวิจัยตามส่วนราชการตามมาตรา 10(4) ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะ อาจแบ่งเป็นสำนักงาน เลขานุการฝ่าย หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าฝ่าย สำนักวิจัยและบริการวิชาการ
ปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2557 ส่งผลให้สำนักวิจัยและบริการวิชาการ ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็น สถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อทำภารกิจวิจัย พัฒนา และบริการวิชาการให้กับมหาวิทยาลัย
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและบริการการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ร่วมมือประสานงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เผยแพร่และส่งเสริมการวิจัยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับภารกิจการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดังปรากฏในมาตรา 7 ความว่า “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบัน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชู ภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู และมาตรา 8 (8) ความว่า ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น